รัฐบาลขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยสู่ศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก

รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เดินหน้าขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก (Agriculture and Food Hub) ตามวิสัยทัศน์ 1 ใน 8 IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมประกาศเป้าหมายผลักดันฐานรากเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ในด้านการเกษตร และด้านอาหาร และยกระดับการเพิ่มรายได้กับเกษตรกร 3 เท่า ภายใน 4 ปี ในการบริการราชการแผ่นดินของรัฐบาลชุดนี้ 
ใช้ 9 นโยบายสนับสนุนความสำเร็จสู่ศูนย์กลางการเกษตรและอาหารโลก
นโยบายที่ 1 การจัดการที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร 
- ดำเนินการให้ประชาชนมีสิทธิ์ในที่ดิน เป็นการปฏิรูปที่ดิน
- ปรับปรุงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร
นโยบายที่ 2 การจัดทำข้อมูลเกษตรกร แปลงเกษตรกรในระบบดิจิทัล และการประกันภัยพืชผล
    จะใช้ระบบดิจิทัล และการประกันภัยพืชผล ซึ่งได้เซ็นสัญญากับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยบันทึกข้อตกลงเกษตรกรว่า เกษตรทั้งแปลงจะใช้ดิจิทัลในการควบคุม เพื่อส่งเสริมในการส่งออก และเชื่อมโยงในการอนุมัติ อนุญาต และการแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่ล้าสมัย ที่เป็นอุปสรรคต่อภาคการเกษตร
นโยบายที่ 3 การส่งเสริมฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน
จากสภาวะที่แปรปรวนทางอากาศทำให้คุณภาพดินเสื่อม ดังนั้น ต้องปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับการผลิต และส่งเสริมฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับพืช และส่งเสริมนวัตกรรมของจุลินทรีย์ให้เหมาะสม
นโยบายที่ 4 การบริหารจัดการน้ำ
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการเกษตร และขยายพื้นที่เขตชลประทานให้มากขึ้น เพื่อกระจายน้ำอย่างทั่วถึง พร้อมเสริมด้วยนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อน เช่น โครงการนำร่องน้ำใต้ดินที่ จังหวัดชัยนาท 
นโยบายที่ 5 การผลักดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 
โดยเป็นสินค้าเกษตรที่ใช้ซอฟต์พาวเวอร์ร่วม ดึงสินค้าที่มีลักษณะโดดเด่นออกมาทำการตลาดใหม่ๆ พร้อมดึงศักยภาพของทูตเกษตรฯ ที่มีอยู่ทั่วโลกของไทย ให้มาร่วมทำการตลาด 
นโยบายที่ 6 การส่งเสริมให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรมีความเข้มแข็ง
โดยส่งเสริมทั้งด้านทักษะของเกษตรกรให้ทั่วถึง และการเข้าถึงแหล่งทุนของเกษตรกร การยกระดับความรู้ทางการเงิน และการทำบัญชี โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ต้องสนับสนุนให้มากยิ่งขึ้น
นโยบายที่ 7 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรด้านหม่อนไหม และการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก จังหวัดอุดรธานี 2569 โดยชูความเป็นอัตลักษณ์ในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าภาคการเกษตรในแต่ละพื้นที่ ทั้งสมุนไพร หรืออาหารปลอดภัย
นโยบายที่ 8 การเปลี่ยนแปลงสภาวะสิ่งแวดล้อม 
ส่งเสริมการเกษตรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นเรื่องสำคัญรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการกักเก็บคาร์บอน รวมถึงแก้ปัญหา PM 2.5 รองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและโรคอุบัติใหม่ ใช้สารชีวภัณฑ์ลดการใช้สารเคมี
นโยบายที่ 9 การทำงานและการวิจัย ภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ 
เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง โดยนำงานวิจัยที่สร้างผลประโยชน์ต่อภาคการเกษตรมาต่อยอด ซึ่งเป็นโครงการใหม่ๆ และมีหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ รองรับ เพื่อให้เป็นทางเลือกแก่เกษตรกร ให้บรรลุเป้าหมาย ในการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรเป็น 3 เท่า ใน 4 ปี หรือภายในปี 2570
รัฐบาลมีเป้าหมาย 2 ส่วนที่สำคัญ โดยเป็นฐานรากเศรษฐกิจ
    1. เป้าหมายด้านการเกษตร คือ รัฐบาลต้องการเพิ่มรายได้สุทธิให้กับเกษตรกรเป็น 3 เท่า ใน 4 ปี ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากไทยมีศักยภาพและความอุดมสมบูรณ์ ที่เป็นข้อได้เปรียบ อีกทั้งด้านภูมิศาสตร์และสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสินค้าเกษตรหลากหลายชนิดและให้ผลผลิตตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งเห็นได้จากผลสำเร็จที่ผ่านมา จากสินค้าเกษตรที่ราคาดี เช่น ยางพารา และข้าว 
2. เป้าหมายด้านอาหาร รัฐบาลเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีความพร้อมในศักยภาพอย่างเต็มที่ เนื่องจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งวัตถุดิบสินค้าการเกษตรที่ดีเป็นวัตถุดิบชั้นเลิศ อาหารขึ้นชื่อมี Story ที่จะยกระดับได้อีกมากมายหลายชนิด อาทิ ร่วมกับ Michelin Guide และการขยายตัวของร้านอาหารไทยไปทั่วโลก รวมทั้งต่อยอดอาหารผ่านนวัตกรรม เจาะกลุ่มผู้บริโภค และการขยายตลาดใหม่ ๆ 
 


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar
ชื่อ widget
 
 

ตัวอย่างใส่อะไรก็ได้ลงไป text , รูป ,วีดิโอ